X

รูป แบบ แท่ง เทียน price action ชนะ Olymp Trade และทุกโบรกเกอร์

รูป แบบ แท่ง เทียน price action คือ พฤติกรรมราคาของสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง ที่แสดงออกมาในรูปแบบของแท่งเทียน โดยรูปแบบของแท่งเทียนและลักษณะการเคลื่อนที่ของราคา สามารถบ่งบอกพฤติกรรมของนักลงทุน และใช้ในการคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคตได้                    

รูป แบบ แท่ง เทียน price action VS อินดิเคเตอร์

Indicator คือ เครื่องมือที่วัด ที่คำนวณมาจากรูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาในอดีต อินดิเคเตอร์ไม่สามารถบอกอนาคตได้ แต่นักเทรดจะพิจารณารูปแบบการเคลื่อนที่ที่อินดิเคเตอร์แสดงเพื่อคาดการณ์ทิศทางของราคาในอนาคต             

แทบจะไม่มีความแตกต่างเลย เพราะ Price Action ก็เป็นการแสดงผลของราคาในอดีตของสินทรัพย์นั้นเช่นกัน รูปแบบแท่งเทียนที่แสดงบนหน้าเทรดของแพลตฟอร์ม Olymp Trade เป็นการแสดงราคาในอดีต และไม่สามารถบอกราคาในอนาคตได้ อย่างไรก็ตามนักเทรดยังเรียนรู้จากรูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาและรูปแบบแท่งเทียนเพื่อคาดการณ์ทิศทางราคาของสินทรัพย์ในอนาคต 

สนใจ รูป แบบ แท่ง เทียน price action

1.แท่งเทียนรูปแบบ Reversal

เป็นรูปแบบการกลับตัวหรือเปลี่ยนทิศทาง (Reversal Pattern) ของกราฟ พิจารณาแท่งเทียนไม่กี่แท่ง (ประกอบกับแนวโน้มเดิม) ก็สามารถทราบได้ว่าจะเกิดการกลับตัวของกราฟหรือไม่ มีอยู่ด้วยกัน 10 รูปแบบที่คุณควรศึกษารูปแบบการกลับตัว (Reversal Pattern)

2. แท่งเทียนรูปแบบ Continuous ตามเทรนด์

คือ รูปแบบที่จะอ้างอิงกับ Gap หรือ หน้าต่าง (Window) โดยทิศทางราคาจะวิ่งไปตามตามหน้าต่าง คือหากเกิด Gap กระโดดขึ้นก็มีแนวโน้มว่าราคาจะพุ่งขึ้นและหากมี Gap กระโดดลงก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นขาลง เพราะหน้าต่าง (หรือ Gap) เป็น Continuous Pattern หากเกิด Gap ที่ระดับซึ่งเคยเป็นจุดต่ำสุด หรือจุดสูงสุดเดิม เพราะนอกจากตัว Window เองจะเป็น แนวต้านและแนวรับ ที่ได้รับอิทธิพลหนุนจากยอดหรือพื้นเดิมอีกด้วย ประกอบไปด้วย 6 รูปแบบแท่งเทียนพี่ใช้เทรดตามเทรนด์ 

3.รูป แบบ แท่ง เทียน price action แบบ คลื่น

รูปแบบคลื่นนี้ประกอบด้วย 8 ลูกคลื่น แบ่งเป็นกลุ่มคลื่นในการกระตุ้น 5 คลื่น และ กลุ่มคลื่นในการปรับตัว 3 คลื่น โดยใช้ลำดับตัวเลข Fibonacci และคลื่นในวงจรหนึ่งไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยลูกคลื่นแค่ 8 ลูกคลื่น เพราะสามารถที่จะขยายหรือแตกตัวออกไปได้อีกมาก โดยยึดหลักการของตัวเลขดังกล่าว Fibonacci เหล่านั้น ดูรายละเอียดคลื่นแต่ละลูกได้ที่นี่              

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบแท่งเทียนอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเทรดเพื่อเอาชนะตลาดคนแพลตฟอร์ม Olymp Trade ทั้งหมด 26 รูปแบบแท่งเทียน 

การเคลื่อนไหวของราคาสามารถคาดการณ์ได้ : Gann’s Theory

นอกจาก รูป แบบ แท่ง เทียน Price Action และการใช้อินดิเคเตอร์แล้ว ยังมีอีกหนึ่งทฤษฎีที่น่าสนใจ W.D. Gann ให้ความเห็นว่าการเคลื่อนไหวของราคาที่ปรากฏเป็นสิ่งที่สามารถคาดการณ์ได้ (pre-determinded) ไม่ใช่การเคลื่อนไหวแบบสุ่ม (random) เป็นการเคลื่อนไหวที่มีอิทธิพลของบรรดาจุดที่ก่อเกิดแรงที่พบในธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งบรรดาจุดเหล่านี้สามารถคำนวณได้จากหลักการทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิต  แบ่งออกเป็น 3 แนวทางเบื้องต้นได้แก่                           

  1. Cardinal Square
  2. เวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทิศทาง
  3. Geometric Angles

คาร์ดินัลสแควร์ (Cardinal Square)

Cardinal Square คือ กระบวนการในการได้มาซึ่งแนวรับแนวต้านในอนาคต โดยอาศัยราคาต่ำสุดใน อดีตเป็นศูนย์กลางในการนับ และใช้หลักการนับแบบทวนเข็มนาฬิกา ดูได้จากรูปข้างล่างนี้               

  

จากรูป จุดศูนย์กลางของการกระจายตัวเลขจะอยู่ที่ 808 จุด การกระจายตัวของมันเกิดขึ้นได้ดังนี้ คือจากจุด 808 จะเริ่มกระจายตัวออกไปทางขวามือก่อน ซึ่งในที่นี้ สมมติให้มี spread ทีละ 1 จุด ดังนั้น ช่องทางขวามือของ 808 จุด ย่อมเท่ากับ 809 จุด                  

หลังจากที่ได้ 809 แล้ว ให้เริ่มทำการนับเพิ่มขึ้นในลักษณะของการทวนเข็มนาฬิกา ดังนั้น จะได้ 810, 811, 812, 813… จนถึงจุดที่ 816 ซึ่งหลังจาก 816 แล้ว ก็ให้ขยับช่องมาทางขวามืออีกหนึ่งช่องเพื่อใส่ค่า 817 และก็เริ่มนับเพิ่มในลักษณะของการทวนเข็มนาฬิกา และทำต่อเนื่องเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะเห็นได้ว่า ขนาด (Size) ของตา รางจะขยายตัวเพิ่มขึ้น          

ค่าที่ปรากฏในตารางบางตำแหน่ง จะทำหน้าที่เป็น แนวรับแนวต้านในอนาคต โดยตำแหน่งที่เห็นว่ามีนัยสำคัญมากหน่อย จะอยู่ในแนวตั้งและแนวนอน รวมถึงเส้นทแยงมุมที่ ออกจากจุดศูนย์กลาง 

เวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทิศทาง

คือ การหาเวลาที่ราคาจะเริ่มเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ โดยใช้วิธีการ square กันของราคาและเวลา ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 2 ตัวแปรนี้

เวลา (TIME)

2 ตัวแปรที่มีความสำคัญในทฤษฎีนี้ คือ เวลา และ ราคา แต่ Gann เองเห็นว่า เวลา เป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญมากที่สุด เพราะจะเป็นตัวกำหนดช่วงระยะเวลา ที่จะให้ราคาเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดิมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแนวโน้มเกิดขึ้น กล่าว คือ เมื่อใดก็ตามที่ตัวแปรทางด้านเวลา ได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแนวโน้มแล้ว ราคามักจะมีการเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ และไม่นานนัก ราคาจะเกิดการปรับตัวไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับแนวโน้มเดิม ดังนั้น ตัวแปรทางด้านเวลานี้ จึงเป็นการ ตอบคำถามว่า เมื่อไรที่ราคาจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม                       

นอกจากนี้ Gann ยังพบอีกว่า การเกิดยอด (tops) หรือก้นบึง (bottoms) ที่สำคัญๆมักจะเกิดขึ้นในช่วงทุกๆ 49 ถึง 52 วัน และการเปลี่ยนแนวโน้มในช่วง intermediate term มักจะปรากฏระหว่าง 42 ถึง 45 วัน 

ราคา (PRICE)

สำหรับตัวแปรที่ 2 คือ ราคา (price) ซึ่งมันมีความสำคัญ ในการบอกว่า ระดับราคาตรงไหนที่จะ เกิดการดีดหรือ วกตัวลง ซึ่งในทฤษฎีของ Gann จะเกี่ยวพันกับเรื่องของ percentage retracements โดยที่ Gann ได้แบ่ง ช่วงราคา ซึ่งวัดจากฐานถึงยอดออกเป็น 8 ส่วน เริ่มตั้งแต่ระดับ 1/8, 2/8 … ไปจนถึงระดับ 8/8 อีกทั้งยังได้นำ speed line ณ ระดับ 1/3 และ 2/3 เข้ามาเป็นตัวเสริมในการพิจารณาเพิ่มด้วย แน่นอน! ระดับต่างๆ เหล่านี้ย่อมจะทำหน้าที่ในการเป็น แนวรับและแนวต้านไปโดยปริยาย             

ตัวอย่างการแบ่ง percentage retracements ของ Gann มีดังนี้          

  • 1/8 = 12.5%
  • 2/8 = 25.0%
  • 1/3 = 33.0%
  • 3/8 = 37.5%
  • 4/8 = 50.0%
  • 5/8 = 62.5%
  • 2/3 = 67.0%
  • 6/8 = 75.0%
  • 7/8 = 87.5%
  • 8/8 = 100.0%

คุณอาจจะคุ้นเคยกับตัวเลข 33%, 37.5%, 50%, 62.5% และ 67% มาบ้างแล้ว อย่างเช่น ที่ระดับ 37.5% และ 62.5% ก็เป็น fibonacci retracement ขณะที่ระดับ 33% และ 67% เป็น Dow theory minimum และ maximum retracement benchmarks ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของ Gann มองว่า ปฏิกิริยา (reaction) ของราคา มัก จะเกิดที่ระดับ 50% ซึ่งตัวเขาเรียกว่าเป็นจุดสมดุล (balancing point)            

ภายใต้หลักการ Square กันระหว่างราคาและเวลานั้น Gann จะมองหาจุดยอด (จุดต่ำสุดแล้วแต่กรณี) ที่มีนัยสำคัญ แล้วทำการแปลงราคาหุ้น ให้อยู่ในรูปของหน่วยเวลา (หรือพูดง่ายๆว่า แปลงจาก หน่วยเงินตราให้เป็นหน่วยของเวลา โดยการ squaring ตัวอย่างเช่น 1 หน่วยราคา เท่ากับ 1 หน่วยเวลา) แล้วทำการคาด การณ์ไปในอนาคต ซึ่งเมื่อราคาหุ้นเคลื่อนตัวมาถึงเวลาที่คำนวณได้ ก็หมายถึง มีความเป็นไปได้ที่ราคาหุ้น จะเปลี่ยน แปลงทิศทางในการเคลื่อนไหว

Geometric Angles

ซึ่งเป็นเรื่องของมุม ที่คุณอาจเคยได้ยินการพูดถึงในวิชาเรขาคณิต อย่างไรก็ตาม Gann เขาก็มีมุม ของเขาเองด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรกับมุมทางเรขาคณิตอย่างไรบ้าง มาดูเลย!                  

เนื่องจากการพิจารณาของ Gann ได้เกี่ยวพันกับ 2 ตัวแปรที่ได้กล่าวข้างต้นมาแล้ว คือ ราคา (P) และ เวลา (T) ดังนั้น เมื่อ Gann จะลากเส้นตรงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ของเขา เขาจะพิจารณามุมของเส้นตรงเหล่านั้น ตามความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาและเวลา ซึ่งบรรดามุมที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 2 นี้ มีชื่อเรียกว่า Gann angles                

และเมื่อพิจารณา จากกราฟทั่วๆไป แกนตั้งนั้นเป็นแกนของราคา ในขณะที่แกนนอนนั้นเป็นเวลา ดังนั้น มุมของ Gann จึงเท่ากับ P XT หรือ จะเป็น T XP ก็ได้ แล้วแต่ว่าจะนับเวลาหรือราคาก่อนกันเท่านั้นเอง ซึ่งแตกต่างจาก Geometric angles ที่มีหน่วยเป็น องศา ตัวอย่างของ Gann angles เช่น (P x T) คือ 1 x 1 หมายถึง ราคาขยับตัวไปหนึ่งหน่วยในช่วงหนึ่งหน่วยเวลา แต่ถ้า PXT เป็น 2 x 1 จะหมายถึง ราคาขยับตัวไปสองหน่วยในช่วงหนึ่งหน่วยเวลา เป็นต้น           

ลองดูกรณีการเปรียบเทียบข้างล่างนี้ เพื่อดูว่าทำไม Scale จึงมีผลทำให้ Gann angles ในรูปของ Geometric angles ไม่เท่ากัน                

แล้วตำแหน่งหรือจุดไหนในกราฟ ที่จะถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการวัดมุม? นั่นคือจุดยอด (tops) หรือก้นบึง (bottoms) ที่มีนัยสำคัญเท่านั้นเอง ซึ่งการตัดกัน ของเส้นตรงที่มีความซันตาม Gann angles เหล่านี้นั้นเอง ที่เป็นจุดกำหนดตำแหน่งของเวลา และระดับราคา ที่จะเกิด ปฏิกิริยาในทิศทางตรงกันข้าม  

**การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังในการลงทุน และลงทุนด้วยความไม่ประมาท**

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Olymp Trade ชุมชนออนไลน์ นักเทรด: