X
    หมวดหมู่: ข่าวสาร Olymp Trade

“ ฝีดาษลิง ” รุนแรงแค่ไหน วัคซีนไข้ทรพิษช่วยป้องกันได้จริงไหม?

โรค “ ฝีดาษลิง ” หรือ Monkeypox ที่กำลังระบาดในประเทศแถบยุโรป ที่กำลังมีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง จะมีอาการคล้ายคลึงกับไวรัสไข้ทรพิษ (ฝีดาษคน: smallpox) โดยจะมีไข้และมีฝีหนองคันเกิดขึ้นตามผิวหนังกระจายไปทั่วร่างกายใน 1-3 วันแรก และอาจทำให้เสียชีวิตได้           

 “โรค ฝีดาษลิง ” เกิดจากอะไร 

ไวรัสฝีดาษลิง อยู่ในสกุล ไวรัสออร์โทพ็อกซ์ (Orthopoxvirus) ของวงศ์  พ็อกซ์วิริดี้ (Poxviridae) และคำว่า pox ก็หมายถึง ฝีหนอง ไวรัสฝีดาษลิงถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 เป็นการระบาดของโรคที่คล้ายฝีดาษ ซึ่งเกิดในห้องแล็บวิจัยที่มีการเลี้ยงลิงไว้ในนั้น แม้ไม่ได้มีหลักฐานว่าลิงเป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนั้น แต่คนก็ตั้งชื่อโรคนี้ว่า ฝีดาษลิง       

ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกคาดว่า สัตว์ตามธรรมชาติที่เป็นพาหะของโรคนี้ จริงๆ น่าจะเป็นพวกสัตว์ฟันแทะ เช่น พวกหนูและกระรอกในป่าของอัฟริกา ดั้งนั้นปกติแล้วโรคนี้ จะพบในทวีปอัฟริกา และมักพบในสัตว์มากกว่า แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานข่าวว่ามีการตรวจพบโรคฝีดาษลิงในบางประเทศแถบยุโรปด้วย โดยในประเทศโปรตุเกส พบเคสยืนยันแล้ว 5 ราย และมีเคสต้องสงสัยอีก 15 ราย ตรวจพบในกรุงลิสบอน ทั้งหมดเป็นผู้ชาย และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่ม ที่มีแผลตามผิวหนังแต่อาการยังไม่รุนแรงอะไร สำหรับในสหราชอาณาจักร หรือประเทศอังกฤษ มีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 7 ราย จากกลุ่มชายที่เป็นเกย์และไบเซ็กชวล ในกรุงลอนดอน และในประเทศสเปน พบเคสต้องสงสัย 8 ราย ที่ยังรอการพิสูจน์ยืนยันผล

อาการของโรค

โรคฝีดาษลิง เป็นตระกูลเดียวกับโรคฝีดาษในคน แต่แพร่ระบาดได้ยากกว่า มีอาการรุนแรงน้อยกว่า และทำให้เสียชีวิตได้น้อยกว่า ผู้ติดเชื้อมักจะมีอาการป่วยนาน 2-4 สัปดาห์ และมีระยะฟักตัว (ตั้งแต่ติดเชื้อจนมีอาการ) ประมาณ 5-21 วัน มีอาการดังต่อไปนี้

  1. เป็นไข้ 
  2. ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง 
  3. หนาวสั่น 
  4. เหนื่อย อ่อนเพลีย  
  5. ต่อมน้ำเหลืองบวม (ซึ่งเป็นจุดแตกต่างสำคัญจากโรคฝีดาษในคน) 

เมื่อเริ่มเป็นไข้ จะมีตุ่มคันที่ดูน่ากลัวเกิดขึ้นใน 1-3 วัน ส่วนมากจะเริ่มที่ใบหน้า และกระจายไปตามร่างกาย บางคนอาจขึ้นไม่เยอะ แต่บางก็คนอาจมีเป็นพันตุ่ม โดยตุ่มจะนูนใหญ่ขึ้น มีหนองข้างในเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จน “สุก” และแตกเป็นแผล

การติดต่อของโรค “ฝีดาษลิง”

มนุษย์สามารถติดเชื้อไวรัสโรคนี้ได้จากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อนั้นกัดหรือข่วน และจากการกินเนื้อของมัน       

ส่วนการติดต่อจากคนที่ติดเชื้อ เกิดได้โดยการสัมผัสกันโดยตรง หรือจับเสื้อผ้าที่นอน ที่ปนเปื้อนเชื้ออยู่  ไวรัสก็จะเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแผลบนผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจ หรือเนื้อเยื่อที่มีเมือก (เช่น ดวงตา จมูก ปาก) ส่วนใหญ่ การแพร่จากคนสู่คน จะผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จากทางเดินหายใจ (เช่น หยดน้ำลาย น้ำมูก สารคัดหลั่ง) ทำให้เชื้อมักเดินทางไปไม่ไกลนัก แต่ยังต้องเว้นระยะห่าง นอกจากนี้การระบาดที่พบตอนหลัง ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า การมีเพศสัมพันธ์ก็มีโอกาสจะแพร่เชื้อได้ เนื่องจากกิจกรรมทางเพศนั้น ทำให้คนทั้งสองมาอยู่ใกล้ชิดกัน 

วัคซีน ไข้ทรพิษ สามารถป้องกันโรค ฝีดาษลิง ได้?

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า 

“ฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ จะอยู่ได้นานเท่าใด?          
ในยุคของฝีดาษลิงเชื่อกันว่าคนที่เคยฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ (ทั้งนี้ประเทศไทยเลิกฉีดไปในปี 2523) จะยังสามารถป้องกันฝีดาษลิงได้ ประมาณ 85%   ทั้งนี้ระบบภูมิคุ้มกันยังต้องดีอยู่   มีการศึกษาในวารสารนิวอิงแลนด์ตั้งแต่ปี 2007 ในบุคลากรที่ทำงาน จำนวน 45 คน ในศูนย์สัตว์ จำพวกลิง ที่โอเรกอน   
ทั้งนี้มีการเจาะเลือดเก็บตัวอย่างเป็นระยะอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณ 15 ปี  ประมาณ 60% ยังคงมีภูมิคุ้มกันอยู่ ทั้งนี้ประเมินกันว่าระยะเวลาตรึ่งชีวิต จะอยู่ประมาณ 90 ปี   และเป็นกลไกของ memory B cell independent long lived plasma cells (ไม่ใช่ dependent-short lived) และด้วยความที่วัคซีนเป็นเชื้อเป็น  
อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมว่าไม่ใช่ทุกคนที่ฉีดวัคซีนไข้ทรพิษไปแล้วจะป้องกันไข้ฝีดาษลิงได้ ดังข้างต้น   และวัคซีนยุคใหม่ยังคงใช้กันสำหรับคนที่มีความเสี่ยงสูงมากแม้ว่าอาจจะมีผลข้างเคียง <วัคซีนไข้ทรพิษในสมัยโบราณที่เกิดสมองอักเสบได้แม้ว่าจะไม่มากแต่อัตราเสียชีวิตสูงถึง 50%”

ก่อนหน้านี้คุณหมอธีระวัฒน์ ยังโพสต์ด้วยว่า

“ฝีดาษลิง (วานร) ไวรัสแพร่ออก เมื่อเริ่มมีอาการ ไม่สบายแล้ว ดังนั้น ถ้าคนไม่สบายแล้ว และยังคลุกคลีสัมผัส กับคนอื่นมากเท่าใด ก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้มากเท่านั้น และคนที่ติดเชื้อละลอกสอง จะปรากฏอาการภายใน 1- 2 สัปดาห์ แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์ ทำให้โรคแพร่กระจายออกไปได้กว้างยิ่งขี้น การติดเชื้อในประเทศอังกฤษคล้ายเป็นการแพร่ในชุมชน โดยที่รายต่อมาไม่ได้สัมผัสกับรายแรกและไม่ได้กลับจากพื้นที่ต้นตอแต่ข้อดีของไวรัสตัวนี้ก็คือ ความสามารถในการแพร่ติดต่อ ยังอยู่ในระดับต่ำมาก ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่คลุกคลี จะติดทุกคน แต่ต้องกักตัว 21 วัน เมื่อทราบว่าได้สัมผัส ในปี 2020 องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่ามีผู้ที่น่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง 4594 รายและเสียชีวิต 171 ราย (case fatality ratio 3.7%) แต่ทั้งนี้ไม่ได้รับการยืนยันด้วยการตรวจพีซีอาร์”

แนวทางการป้องกัน “โรคฝีดาษลิง”

ข้อมูลจาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การป้องกันเบื้องต้นสำหรับประชาชนทั่วไปทำตามข้อปฏิบัติเหล่านี้

  1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือ แอลกอฮอล์เจล 
  2. งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า 
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย 
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ 
  5. ในกรณีที่พบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แนะนำให้แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด และนำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้  
  6. หลีกเลี่ยงการเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์ป่าจากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง

 หากมีเชื้อฝีดาษลิงเข้ามาในประเทศไทยจริง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ  จุฬาฯ สามารถตรวจไวรัสจากฝีดาษลิงได้ โดยใช้ระยะเวลา 1-2 วัน เนื่องจากต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากตรวจหาเชื้อได้เร็ว และกักตัวกลุ่มเสี่ยงได้ ก็จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดครั้งนี้ได้ เพราะโรคนี้ยังไม่มียารักษา ไม่เหมือนกับประเทศที่มีการพัฒนาทางการแพทย์แล้ว ส่วนอัตราเสียชีวิตยังมีน้อยกว่า 1% ถือว่าไม่น่ากลัวมากนัก 

ใครคือกลุ่มเสี่ยง 

โรคฝีดาษลิง อาจเกิดได้ในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ส่วนผู้สูงอายุเคยได้มีการปลูกฝี หรือรับวัคซีนฝีดาษไปก่อนหน้านี้  ยังไม่มีใครตอบได้ว่า ภูมิคุ้มกันจะยังคงอยู่หรือไม่

**การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดระมัดระวังในการลงทุน และลงทุนด้วยความไม่ประมาท**

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Olymp Trade ชุมชนออนไลน์ นักเทรด: